รู้ทันภาวะข้อไหล่ติดยึด
ข้อไหล่ เป็นข้อต่อที่สำคัญอันหนึ่งของร่างกาย ข้อไหล่ประกอบไปด้วย กระดูกหัวไหล่ Humerus และ กระดูกเบ้าหัวไหล่ Glenoid ซึ่งลักษณะทางกายภาพนั้นจะคล้ายกับ ลูกกอล์ฟบนแท่นที ความมั่นคงของข้อไหล่จึงต้องอาศัยเยื่อหุ้มข้อไหล่ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยรอบเพิ่อให้สามารถขยับได้ตามต้องการ เช่น การเอื้อมหยิบของเหนือศรีษะ การอ้อมแขนเกาหลัง หรือ การใส่เสื้อผ้า
ภาวะข้อไหล่ติดยึด
ภาวะข้อไหล่ติดยึด สามารถพบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมักจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ ทำให้มีความลำบากในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น สวมเสื้อ เกาหลัง หรือทำให้มีอาการปวดหัวไหล่เวลานอน อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆได้แก่
Primary Stiff Shoulder คือ ภาวะข้อไหล่ติดยึดโดยไม่มีสาเหตุ
Secondary Stiff Shoulder คือ ภาวะข้อไหล่ติดยึดโดย เกิดจากพยาธิสภาพในข้อไหล่ เช่น จากอุบัติเหตุเกี่ยวกับหัวไหล่ หรือ จากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคไต โรคหัวใจ ฯลฯ
ระยะข้อไหล่ติดยึด
การดำเนินโรคข้อไหล่ติดยึดนั้นมี 3 ระยะ
- ระยะอักเสบ (Inflammatory Phase)
- ระยะข้อยึดติด (Frozen Phase)
- ระยะคลายตัว (Thal Phase)
การวินิฉัยภาวะข้อไหล่ติดยึดนั้น นอกจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้ว ต้องมีการส่ง X Ray, Ultrasound หรือ MRI เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของการติดยึด เพื่อการวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง
การรักษาภาวะข้อไหล่ติดยึด
การรักษาแบ่งได้เป็น 2 แบบได้แก่
การรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้แก่
- การทานยา
- การฉีดยา steroid
- การทำกายภาพบำบัดเพิ่มวิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่
การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อได้ทำการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมาอย่างน้อย 6-12เดือนแล้วยังมีภาวะไหล่ติดยึดอยู่แล้วเป็นปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันจึงจะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด ปัจจุบันมีการรักษาแบบ
- ส่องกล้องข้อไหล่ ซึ่งได้ผลดีและมีการฟื้นตัวได้เร็ว ทำให้การรักษาภาวะข้อไหล่ติดยึดนั้นไม่น่ากลัวอีกต่อไป
โดยปกติแล้ว ภาวะไหล่ติดยึดโดยไม่มีสาเหตุนั้น สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นข้อไหล่ติดยึดโดยมาสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดหรือมีความผิดปกติของกระดูกหัวไหล่ต้องรักษาที่ต้นตอนั้นๆ